นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวภาวะการค้าระหว่างประเทศ-การค้าชายแดนและผ่านแดน เดือนมกราคม 2566 โดยการส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (700,127 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 4.5 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 3.0 การส่งออกของไทยหดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า และยังอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศในเอเชีย โดยตลาดส่งออกของไทยหลายตลาดกลับมาขยายตัว ได้แก่ สหภาพยุโรป ลาตินอเมริกา อินเดียแอฟริกา และอาเซียน (5) ท่ามกลางผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความผันผวนของค่าเงินบาท เป็นผลจากความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนในการผลักดันการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ที่มีส่วนช่วยประคับประคองการส่งออกของไทยภายใต้แรงกดดันของเศรษฐกิจโลก ลดการกระจุกตัวของตลาดส่งออก และจะช่วยเพิ่มการกระจายของสินค้าไทยในอนาคต

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.5 ดุลการค้า ขาดดุล 4,649.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมกราคม 2566 การส่งออก มีมูลค่า 700,127 ล้านบาท หดตัวร้อยละ0.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 871,430 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ9.4 ดุลการค้า ขาดดุล 171,303 ล้านบาท คำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.7 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 72.3 ขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัว

ในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ สหรัฐ อิรัก และแอฟริกาใต้) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ขยายตัวร้อยละ 124.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย เมียนมา เคนยาเวียดนาม และเนเธอร์แลนด์) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 50.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเมียนมา) ผลไม้สด ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยขยายตัวจากทุเรียนสด ขยายตัวร้อยละ 53.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร) มะม่วงสด ขยายตัวร้อยละ 21.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม รัสเซีย และฮ่องกง) มังคุดสด ขยายตัวร้อยละ 821.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) โกโก้และของปรุงแต่ง ขยายตัวร้อยละ 102.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย กัมพูชา และอินเดีย)คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 7.6 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐ และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์อินเดีย ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้) ยางพารา หดตัวร้อยละ 37.6 หดตัวต่อเนื่อง6 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐ แต่ขยายตัวในตลาดอินเดียและปากีสถาน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 4.8 

(หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น ลิเบีย แคนาดา และอียิปต์ แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลียซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ ชิลี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 2.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย จีน ฮ่องกง เมียนมา และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ กัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น และไต้หวัน) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 2.2 หดตัวต่อเนื่อง2 เดือน (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สิงคโปร์ แคนาดา ฮ่องกง และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ ไอร์แลนด์ และฟิลิปปินส์) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ11.0 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา เยอรมนี และเมียนมา) เป็นต้น

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.4 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 9.2 กลับมาขยายตัวอีกครั้ง (ขยายตัว

ในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเวียดนาม) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 72.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ เวียดนาม อินเดีย จีน และจอร์แดน) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ16.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เบลเยียม สหรัฐ จีน และเนเธอร์แลนด์) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น และอิตาลี) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 47.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 23 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นสิงคโปร์ และฝรั่งเศส) 

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ21.2 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐ จีน เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ มาเลเซีย เม็กซิโก อินเดีย และไต้หวัน) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ8.2 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ และซาอุดีอาระเบีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 3.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดฮ่องกง เยอรมนี อินเดีย สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐอิตาลี เบลเยียม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และญี่ปุ่น) เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 30.0 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย จิบูติ อิตาลี และเยอรมนี) เคมีภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 17.6 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน(หดตัวในตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย ลาว เกาหลีใต้ อียิปต์ และโอมาน)

ตลาดส่งออกสำคัญการส่งออกไปยังตลาดสำคัญในภาพรวมยังคงหดตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับภาวะการชะลอตัวของภาคการผลิตโลก ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 5.3 หดตัวในสหรัฐ ร้อยละ 4.7 จีน ร้อยละ 11.4 ญี่ปุ่นร้อยละ 9.2 CLMV ร้อยละ 11.1 ขณะที่อาเซียน (5) และ สหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.2 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 3.1โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 4.3 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 7.2 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 46.4 ขณะที่ขยายตัวในตลาดตะวันออกกลาง ร้อยละ 23.7 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 14.7 ลาตินอเมริกา ร้อยละ1.5 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 6.1 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 17.4 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 18.6